คำจำกัดความ: เงินช่วยเหลือเพื่อสานต่อธุรกิจ 3 (III) และเงินช่วยเหลือบวก 3 (III Plus)
เงินช่วยเหลือเพื่อสานต่อธุรกิจ III (ระยะสามจาก พฤศจิกายน 2020 ถึง มิถุนายน 2021)
เงินช่วยเหลือเพื่อสานต่อธุรกิจ III ส่งเสริมมาตรการปรับธุรกิจเข้าสู่ระบบดิจิตัล ด้วยเงินช่วยเหลือสูงถึง
20,000 ยูโร
เว็บไซต์ของกระทรวงเศรษฐกิจพลังงาน และกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงในการตอบคำถามที่พบบ่อย (FAQ) 2.4 ข้อ 17 ถึงรายละเอียดการลงทุน ที่สามารถยื่นขอความสนับสนุน เพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิตัลได้ เมื่อการดำเนินงานตามมาตรการเหล่านี้มีความจำเป็น ต่อการประกอบธุรกิจขององค์กร หรือสำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพส่วนตัว ได้แก่ การเปิดหรือขยายร้านออนไลน์ การเสียค่าเข้าใช้แพลทฟอร์มเจ้าใหญ่ เสียค่าใบอนุญาตเพื่อใช้ระบบการประชุมทางไกล (วิดีโอคอนเฟอเร้นซ์) การปรับและอัพเดทเว็บไซต์และโฮมเพจเพื่อให้บริการ Click-and-Collect แก่ลูกค้า เมื่อลูกค้า สามารถช็อปสินค้าบนเว็บไซต์และไปรับสินค้าที่ร้านสาขา หรือเพื่อให้บริการ Click-and-Meet ในการประชุมออนไลน์ การซื้อใบอนุญาตและติดตั้งเครื่องฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อเชื่อมต่อระบบโฮมออฟฟิซเพื่อทำงานจากบ้านการลงทุนทำการตลาดดิจิตัล (ด้วยโซเชียลมีเดีย การใช้ SEO เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ บล็อก หรือลูกค้าในธุรกิจของท่าน ติดอันดับขึ้นหน้าแรกของ Google เมื่อมีการค้นหาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือ SEA ซึ่งทำให้เว็บไซต์ของท่านติดอันดับขึ้นหน้าแรกเมื่อมีการค้นหาแต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม การใช้อีเมล์ทำมาร์เก็ตติ้ง และอื่นๆ) การลงทุนใหม่ๆ ในกิจกรรมโซเชียลมีเดียต่างๆ การทำเวิร์คช็อปทางดิจิตัล การจัดกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาตัวแบบทางธุรกิจดิจิตัล การอัพเดทระบบซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาตัวแบบทางธุรกิจดิจิตัล การสร้างระบบการจอง การสำรอง และการทำระบบติดตามจำนวนและราคาของสินค้าทั้งกระบวนการ (WWS) การเปลี่ยนระบบการจ่ายเงิน เพื่อพัฒนาการให้บริการทางดิจิตัลแบบใหม่ เช่น “สั่งจากมือถือ บนโต๊ะที่นั่ง” หรือการปรับแอ็พเพื่อการลงทะเบียนลูกค้า การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อความพร้อมในการให้บริการแบบดิจิตัล เช่น กล้อง ไมโครโฟน ฯลฯ) การถ่ายรูปหรือถ่ายทำวิดีโอ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดหาและการขยายระบบบันทึกทางอิเลคโทรนิค ตามมาตรา 146a ของระเบียบทางภาษี (Abgabenordnung หรือ AO)ด้วยการดำเนินการทั้งหลายเหล่านี้ จะได้รับความเห็นชอบ และอาจได้รับการสนับสนุนสูงสุดถึง 20,000 ยูโร ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้ความช่วยเหลือ
ผู้ใดจะยื่นขอรับการสนับสนุนได้บ้าง?
องค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีรายได้ประจำปี 2020 สูงถึง 750 ล้านยูโรเช่น ธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ก่อตั้งขึ้นภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2020 องค์กรการกุศล องค์กรคริสต์ศาสนา และองค์กรอื่นๆ จากทุกแวดวงและสาขาอาชีพ
ยื่นใบสมัครอย่างไร ?
ท่านสามารถยื่นใบสมัคร ผ่านบุคคลต่างๆ เหล่านี้ได้เท่านั้น ได้แก่ ผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษี (Steuerberater/-in) ผู้ตรวจเงินบัญชี ทนาย (Rechtsanwalt) หรือผู้ตรวจเงินที่เข้ารับการสาบานตัวแล้ว (vereidigte Buchprüfer/-innen) จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2021
ท่านจะสามารถยื่นใบสมัครขอรับการสนับสนุนเงินเพื่อช่วยสานต่อธุรกิจ 3 ได้หรือไม่ เมื่อท่านได้รับเงินช่วยเหลือก่อนหน้านี้มาแล้ว ?
ได้ แต่อย่างไรก็ดี จะมีการพิจารณาเงินช่วยเหลือเพื่อสานต่อธุรกิจ II สำหรับเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2020 ด้วย ฉะนั้น องค์กรธุรกิจที่รับความช่วยเหลือในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมแล้ว ไม่สามารถยื่นใบสมัครขอรับความช่วยเหลือเพื่อสานต่อธุรกิจ III สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2020 ถึงธันวาคม 2021 ได้บริษัท และผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว ที่ยื่นใบสมัครเพื่อขอความช่วยเหลือเริ่มต้นธุรกิจ Neustarthilfe ก็ไม่สามารถยื่นใบสมัครเพื่อขอรับความช่วยเหลือเพื่อสานต่อธุรกิจ III ได้เช่นกัน
FAQ คำถามที่พบบ่อย เรื่อง “ความช่วยเหลือสานต่อธุรกิจ-โคโรน่า III” (Corona-Überbrückungshilfe III) ระยะสาม จากพฤศจิกายน 2020 ถึงมิถุนายน 2021
ความช่วยเหลือสานต่อธุรกิจ บวก 3 ( 3 พลัส) ระยะที่สี่ จากกรกฎาคม ถึงกันยายน 2021
ผู้ใดสามารถยื่นใบสมัครขอความช่วยเหลือ ?
โดยพื้นฐานแล้ว องค์กรธุรกิจ (บริษัทแต่ละแห่ง หรือกลุ่มบริษัท) ที่มีรายได้จากทั่วโลกถึง 750 ล้านยูโรในปี 2020 รวมทั้งผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว และผู้ประกอบอาชีพอิสระในทุกสาขาอาชีพ สามารถยื่นใบสมัครรับความช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ให้การสนับสนุนตั้งแต่กรกฎาคม 2021 ถึงกันยายน 2021 ได้ หากปรากฎว่า รายได้ประจำเดือนของผู้ประกอบการกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ได้รับผลกระทบจากโคโรน่า เป็นเหตุให้รายได้ลดลงอย่างน้อยที่สุด 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันในปี 2019
ค่าใช้จ่ายด้านใด ที่จะได้รับการช่วยเหลือ ?
การลงทุนปรับธุรกิจเข้าสู่ระบบดิจิตัล จะได้รับความช่วยเหลือสูงสุดถึง 10.000 ยูโรในช่วงเวลาที่ให้การสนับสนุน
FAQ คำถามที่พบบ่อยเรื่อง “ความช่วยเหลือเพื่อสานต่อธุรกิจ-โคโรน่า บวกสาม” ระยะ 4 (จากกรกฎาคม 2021 ถึงกันยายน 2021)
Überbrückungshilfe III (Dritte Phase von November 2020 bis Juni 2021)
Die Überbrückungshilfe III fördert Digitalisierungsmaßnahmen mit bis zu 20.000 €
Investitionen in Digitalisierung (zum Beispiel Aufbau oder Erweiterung eines Online-Shops, Eintrittskosten bei großen Plattformen, Lizenzen für Videokonferenzsysteme, erstmalige SEO-Maßnahmen, Website-Ausbau, Neuinvestitionen in Social Media Aktivitäten, Kompetenz-Workshops in digitalen Anwendungen, Foto-/Video-Shootings, wenn sie zur Ausübung der betrieblichen oder selbstständigen Tätigkeit erforderlich sind) werde bis zu maximal 20.000 Euro im Förderzeitraum als erstattungsfähig anerkannt werden.
Wer kann die Förderung beantragen?
Unternehmen, Soloselbständige, und Freiberufler bis zu einem Jahresumsatz von 750 Millionen Euro im Jahr 2020 sowie Start-ups, die bis zum 31. Oktober 2020 gegründet wurden, gemeinnützige Unternehmen, kirchliche Unternehmen und Organisationen aus allen Branchen.
Wie stellen Sie den Antrag?
Sie können Ihren Antrag nur über eine Steuerberaterin oder einen Steuerberater, eine Wirtschaftsprüferin oder einen Wirtschaftsprüfer, eine Rechtsanwältin oder einen Rechtsanwalt sowie über vereidigte Buchprüferinnen und Buchprüfer bis 31. Oktober 2021 (Frist verlängert) stellen.
Können Sie die Überbrückungshilfe III beantragen, wenn Sie vorher schon andere Hilfen erhalten haben?
Ja. Leistungen aus der Überbrückungshilfe II für November und Dezember 2020 werden angerechnet. Unternehmen, die November-/Dezemberhilfe erhalten, können aber für die Monate November bzw. Dezember keine Hilfe über die Überbrückungshilfe III beantragen. Unternehmen und Soloselbständige, die bereits einen Antrag auf Neustarthilfe gestellt haben, können keinen Antrag auf Überbrückungshilfe III stellen.
FAQ zur „Corona-Überbrückungshilfe III“Dritte Phase von November 2020 bis Juni 2021
Überbrückungshilfe III Plus (Vierte Phase von Juli bis September 2021)
Wer kann die Förderung beantragen?
Grundsätzlich sind Unternehmen (im folgenden jeweils Einzelunternehmen beziehungsweise Unternehmensverbünde) bis zu einem weltweitenUmsatz von750 Millionen Euro im Jahr 2020, Soloselbständige und selbständige Angehörige der Freien Berufe im Haupterwerb aller Branchen für den Förderzeitraum Juli 2021 bis September 2021 antragsberechtigt, die in einem Monat des Förderzeitraums einen Corona-bedingten Umsatzeinbruch von mindestens 30 Prozent im Vergleich zum Referenzmonat im Jahr 2019 erlitten haben.
Welche Kosten sind förderfähig?
Investitionen in Digitalisierung bis zu maximal 10.000 Euro im Förderzeitraum
FAQ zur „Corona-Überbrückungshilfe III Plus“ Vierte Phase (von Juli 2021 bis September 2021)